เมื่อตกลงใจจะแต่งงานที่โบสถ์ใดโบสถ์หนึ่ง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ แจ้งความจำนงกับบาทหลวงเจ้าวัด บาทหลวงบางท่านก็อาจจะมีเงื่อนไขอื่นอีก คุณพ่อสตีเฟน แก๊บบอตต์ บาทหลวงเจ้าวัดที่โบสถ์ไครสท์เชิร์ช
ถ.คอนแวนต์ บอกว่า ผู้ที่จะแต่งงานที่โบสถ์นี้จะต้องมีคุณสมบัติสามข้อ คือ เป็นคริสเตียนไม่เคยผ่านการหย่าร้างมาก่อน และอายุไม่แตกต่างกันมากจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตคู่ ข้อหลังนี้ตั้งขึ้นด้วยเหตุผลทางสังคมและศีลธรรมแต่สองข้อแรกนั้นเป็นเงื่อนไขหลักที่แทบทุกโบสถ์ตราไว้ เนื่องจากคนที่มีความเชื่อต่างกันนั้นยากจะร่วมชีวิตกันไปได้ตล อดรอดฝั่ง และในเรื่องการหย่าร้างนั้น พระเยซูได้ตรัสไว้ว่า “คู่สมรสได้เป็นหนึ่งเดียวกัน จะหย่าร้างกันไม่ได้เพราะเป็นแผนการของพระเจ้าที่วางไว้ เพื่อให้คู่บ่าวสาวดำเนินชีวิตไปด้วยกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขจนกว่าความตายจะมาพราก”
คำสอนก่อนแต่งงาน (pre-marital counseling)
เมื่อกำหนดวันแต่งงานแล้วพระจะนัดให้ว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวมารั บคำสอนเกี่ยวกับหลักทางศาสนาที่ว่าด้วยการแต่งงานและหน้าที่ของ คู่สมรส คุณพ่อโรเบิร์ต กูลด์ แห่งโบสถ์อีแวนเจลิคัล ซ.สุขุมวิท 10 เน้นว่าพระจะต้องการให้อบรมแก่ว่าที่คู่บ่าวสาวในสามเรื่องซึ่ง เป็นหัวใจของการใช้ชีวิตคู่ คือ การสื่อสารระหว่างกัน การจัดการทรัพย์สินและเพศศึกษาสำหรับคู่สมรสพร้อมกันนี้จะให้คำ ปรึกษาเกี่ยวกับพิธีศีลสมรสและการเตรียมงานต่าง ๆ เช่น การตกแต่งสถานที่ประกอบพิธี การติดต่อคณะนักร้องประสานเสียงและนักออร์แกน การจัดหางานเลี้ยงภายในเขตวัด ฯลฯ ไปด้วย
ประกาศข่าวแต่งงาน (reding of banns)
ตามจารีตของนิกายโรมันคาทอลิคและเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England) เมื่อกำหนดวันแต่งงานแล้วบาทหลวงจะแจ้งข่าวต่อสัตบุรุษที่มาร่ว มรับมิสซาหรือาจจะปิดประกาศภายในวัดเป็นเวลาสามอาทิตย์ติดต่อกั น หากผู้ใดเห็นว่าทั้งคู่ไม่ควรแต่งงานกันด้วยเหตุผลใด ๆ ก็สามารแจ้งคัดค้านได้ก่อนจะถึงวันแต่งงาน
การเตรียมการสำหรับพิธีศีลสมรส
องค์ประกอบสำคัญในพิธีสมรส นอกจากคู่บ่าวสาวและผู้ประกอบพิธีแล้วก็ต้องมี แหวนแต่งงานซึ่งในในพิธีแลกแหวน เป็นสัญลักษณ์คู่บ่าวสาวได้ มอบตัวมอบใจให้แก่กัน แหวนแต่งงานนิยมใช้แหวนทองคำเกลี้ยง เพราะเป็นโลหะที่บริสุทธิ์ ทนทาน ไม่หม่นหมองง่ายและรูปทรงกลมก็ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความนิรันดร ์ แต่สมัยนี้มีผู้นิยมใช้แหวนแพลตินัมเป็นแหวนแต่งงานมากขึ้นเพรา ะเป็นโลหะแข็งแกร่งที่สุด แหวนแต่งงานนี้จะสวมบนนิ้วนางข้างซ้ายเสมอ เพราะเชื่อกันว่ามีเส้นเลือดแล่นจากนิ้วนี้สู่หัวใจ ดนตรี ที่ใช้ประกอบพิธีเป็นเพลงสวด อาจเป็นการขับร้องโดยนักร้องหมู่ประสานเสียงประกอบออร์แกนหรือเ ป็นเพลงบรรเลงด้วยออร์แกนก็ได้และจะบรรเลงตามคิวต่าง ๆ เช่น เริ่มขบวนแห่ พิธีแลกแหวน เป็นต้น คู่บ่าวสาวอาจกำหนดเพลงที่จะใช้ประกอบโดยปรึกษากับพระก่อน ดอกไม้ที่ใช้ตกแต่งสถานที่ประกอบพิธี คู่บ่าวสาวอาจจัดการเองหรือให้ทางวัดช่วยติดต่อควรสอบถามให้เรี ยบร้อยว่าทางวัดมีข้อบังคับอะไรบ้าง ช่างทำดอกไม้จะเริ่มงานได้เมื่อไร และเมื่อไรเสร็จพิธีแล้วนำดอกไม้กลับได้หรือไม่ ฯลฯ
การซ้อมใหญ่
มักจะทำในคืนก่อนวันสมรส โดยพระ คู่บ่าวสาว และผู้ร่วมพิธีทุกคนจะมาพร้อมกันที่โบสถ์เพื่อซ้อมลำดับพิธีกรร มทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ตามธรรมเนียมฝรั่ง พ่อแม่ฝ่ายชายเป็นเจ้าภาพอาหารค่ำหลังเสร็จจากการซ้อม เรียกว่า rehersal dinner
ผู้ถือแหวนมักเป็นเด็กชายอายุไม่เกิน 13 ปี ทำหน้าที่ถือพานแหวนซึ่งอาจจะเป็นแหวนแต่งงานจริง ๆ หรือแหวนที่ทำขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในพิธีก็ได้
มักเป็นเด็กผู้หญิงอายุ 3-7 ปี มีหน้าที่โปรยกลีบดอกไม้หรือถือช่อดอกไม้นำหน้าขบวนเจ้าสาว
เป็นหญิง 1 ชาย 1 ที่คู่บ่าวสาวเลือกให้ทำหน้าที่จุเทียนที่แท่นบูชาเพื่อเริ่มพิ ธีศีลสมรส เทียนนี้ห้ามมิให้ดับก่อนพิธีเสร็จสิ้น
ผู้ร่วมพิธี
พิธีแต่งงานที่สมบูรณ์ตามที่ศาสนาจักรกำหนดจะต้องมีคู่สมรส พระผู้ประกอบพิธี แหวนแต่งงานและพยาน 2 คน แต่คู่บ่าวสาวอาจให้มี เพื่อนเจ้าสาว เพื่อนเจ้าบ่าว ผู้ถือดอกไม้ ผู้ถือแหวน ผู้อ่านพระคัมภีร์ร่วมพิธีด้วย
เพื่อนเจ้าบ่าว (best man) มักเป็นญาติเหรื่อเพื่อนที่เจ้าบ่าวไว้วาวใจให้ช่วยเตรียมงานแล ะดูแลความเรียบร้อยในระหว่างประกอบพิธี บทบาทของเพื่อนเจ้าบ่าวที่สำคัญคือเป็นผู้รักษาแหวนให้กับเจ้าบ ่าวก่อนถึงพิธีแลกแหวน
เพื่อนเจ้าสาว (bridesmaid) อาจมีคนเดียวหรือหลายคน ในกรณีที่มีหลายคน เจ้าสาวจะมอบให้คนหนึ่งเป็นหัวหน้า เรียกว่า maid of honor เธอผู้นี้จะเดินนำหน้าขบวนเพื่อนเจ้าสาวในขณะที่เดินเข้าสู่สถา นที่ประกอบพิธี เป็นผู้รักษาช่อดอกไม้เจ้าสาวในระหว่างพิธี และเป็นผู้เปิดผ้าคลุมหน้าเจ้าสาวเมื่อบาทหลวงประกาศให้เจ้าบ่า วจุมพิตเจ้าสาวหลังเสร็จสินพิธีแต่งงาน
ผู้อ่านคัมภีร์ (lector)
มีหน้าที่อ่านคำสอนจากพระคัมภีร์ตามที่พระผู้ประกอบพิธีออกนาม จึงต้องมีการซักซ้อมกันก่อน
ผู้เชิญแขก (ushers)
มีหน้าที่นำพ่อแม่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวเข้าสู่ที่ประกอบพิธีและนำ แขกเข้านั่งประจำที่ โดยแขกฝ่ายเจ้าสาวจะนั่งทางด้านซ้ายและแขกเจ้าบ่าวจะนั่งด้านขว า
ลำดับพิธีกรรม
หัวใจของพิธีศีลสมรสหรือการที่คู่บ่าวสาวให้คำมั่นสัญญาต่อพระผ ู้เป็นเจ้าว่าจะมอบชีวิตให้แก่กันและยอมรับหน้าที่ของสามีภรรยา ที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์ พิธีศีลสมรสนี้จึงเน้นความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แต่รายละเอียดพิธีกรรมของแต่ละโบสถ์อาจจะต่างกันไป เนื่องจากพิธีกรรมแบบโรมันคาทอลิคมีขั้นตอนมากที่สุด ในที่นี้จึงขอยึดพิธีแบบคาทอลิคเป็นหลัก
ภาควจนพิธีกรรม
พระนำสวดสดุดีพระเป็นเจ้า พระถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวที่จะแต่งงาน เมื่อคู่บ่าวสาวตอบรับแล้วพระให้ทั้งคู่จับมือกันและกันและกล่า วให้คำมั่นสัญญา โดยอาจถามว่า “นาย/นางสาว... ท่านสมัครรับนางสาว/นาย...เป็นภรรยาและสัญญาว่าจะซื่อสัตย์ต่อเ ธอ/เขาทั้งในยามสุขและทุกข์ ทั้งในเวลาป่วยและเวลาสบายเพื่อรัก และยกย่องให้เกียรติเธอ/เขาจนกว่าชีวิตจะหาไม่หรือ” (อาจใช้แบบอื่นแล้วแต่พระและคู่บ่าวสาวเห็นสมควร)
เมื่อคู่บ่าวสาวตอบรับแล้วพระพรมน้ำเสกให้ทั้งคู่
เพื่อนเจ้าบ่าวมอบแหวนให้พระ
พระเสกแหวนให้คู่บ่าวสาวและให้ทั้งคู่สวมแหวนให้กันและกัน
ภาคบูชาขอบคุณ
พระเชิญชวนผู้มาร่วมพิธีภาวนาเพื่อคู่บ่าวสาว นำสวดขอให้พระเป็นเจ้าประทานพรแก่คนทั้งสองแล้วประกาศให้ทั้งสอ งเป็นสามีภรรยากันโดยถูกต้อง
พระกล่าวอนุญาตให้เจ้าบ่าวจูบเจ้าสาว
คู่บ่าวสาวรับศีลมหาสนิท (ขนมปังและเหล้าองุ่นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระกายและพระโลหิตของ พระเยซูคริสต์)
พระนำสวดภาวนาหลังรับศีล
ภาคปิดพิธี
พระสงฆ์อวยพรแก่คู่บ่าวสาวและกล่าวปิดพิธี
คู่บ่าวสาวเดินนำขบวนเจ้าสาวออกจากโบสถ์ โดยเดินแถวคู่ตามลำดับ ดังนี้ คือ ผู้ถือแหวนและผู้ถือดอกไม้ เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาวแม่เจ้าสาวและพ่อเจ้าบ่าว แม่เจ้าบ่าวและพ่อเจ้าสาว จากนั้นแขกจึงเริ่มเดินออกจากโบสถ์ได้
พิธีกรรมตามนิกายอื่นอาจไม่มีพิธีรับศีลมหาสนิทและรวบขั้นตอนเห ลือดังนี้
จุดเทียนมงคล
แห่ไปยังแท่นบูชา
บิดาเจ้าสาวมอบตัวเจ้าสาวให้เข้าพิธีสมรส
คู่บ่าวสาวกล่าวให้คำมั่นสัญญาต่อหน้าพระแท่นบูชา และทำพิธีแลกแหวน
พระนำสวดภาวนาเพื่อคู่บ่าวสาวประกาศให้ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน โดยถูกต้อง
พระอวยพรแก่คู่บ่าวสาวและกล่าวปิดพิธี
|