แล้วต่สถานภาพของทั้งสองฝ่าย เมื่อ 3,200 ปีก่อน คนแซ่เดียวกันห้ามแต่งงานกันเอง สมัยก่อนหมั้นกันเป็นเดือนค่อยแต่ง เดี๋ยวนี้หมั้นเช้าแต่งเย็น แบบไม่หมั้นแต่แต่งเลยก็มี บางยุคพ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาวเตรียมข้าวของเครื่องใช้และของหมั้นให้เยอะมาก เตรียมกระทั่งโลงศพก็มี เพื่อไม่ให้ฝ่ายชายมาดูถูกลูกสาวเขา
ได้ว่าพ่อแม่ไม่ดูแลรับผิดชอบ แต่ปัจจุบันไม่ต้องถึงขนาดนั้น
ควรถามญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายว่าอยากเห็นอะไรในธรรมเนียมจีนสิ่งไหนที่อยากให้ทำเพื่อความสบายใจบ้างถ้าฝ่ายหญิงมีอาม่า มักมีธรรมเนียมค่าน้ำนมข้าวป้อนหรืออั่งเปาน้ำนม เพราะเคยช่วยเลี้ยงหลานคนนี้มา หรือท่านอยากเห็นเอี๊ยมแดงก็จัดให้ท่าน สิ่งที่อาม่าเคยเห็นและฝังใจว่าดี ถ้าอีกฝ่ายไม่ทำตามนั้นอาม่าอาจเกิดความรู้สึกมีอคติกับอีกฝ่ายก็ได้ เพราะการที่คนสองคนแต่งงานกันไม่ได้แต่งแค่สองคน แต่เป็นการรวมสองครอบครัวเข้าด้วยกัน ยิ่งถ้าวิถีชีวิตของจีนถูกสอนให้ผูกพันและกตัญญูกับผู้ใหญ่อะไรที่ทำแล้วท่านไม่ชอบก็เลี่ยงไปดีกว่า
เดิมทีชาวจีนสมัยก่อนเรียกพิธีแต่งงานว่า ฮุนหลี่ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า พิธีกรรมยามโพล้เพล้ เพราะงานสมรสส่วนใหญ่มักจัดขึ้นในยามเย็น
นอกจากนี้ ชุดเจ้าบ่าว
ใครที่เป็นคอหนังจีนโบราณคงเคยเห็นพิธีแต่งงานแบบอลังการงานสร้างของจีนมาบ้างแล้ว เป็นงานมงคลที่เต็มไปด้วยสีแดงและพิธีกรรมมากมาย แต่หลายท่านคงไม่ทราบถึงพิธีจริงในงาน รวมถึงธรรมเนียมต่างๆ บ๊องบ๊องไปเสาะหามากฝากกันแล้วค่ะ เผื่อท่านที่กำลังคิดจะแต่งงาน อาจจะลองเลือกพิธีแบบจีนโบราณกันบ้าง – เจ้าสาว ที่ใช้ในพิธีต้องเป็นสีแดง ที่ถือกันว่าเป็นสีมงคลของชาวจีนโดยการแต่งงานจะยึดตามหลักสำคัญที่ขาดไม่ได้ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ ก็คือหลัก 3 หนังสือ 6 พิธีการ
สู่ขอ
ผู้ใหญ่ฝ่ายชายและแม่สื่อเดินทางไปสู่ขอกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง พร้อมมอบของขวัญที่มีความหมายมงคลให้แก่บ้านผู้หญิง ซึ่งทางครอบครัวฝ่ายหญิงเองจะถือโอกาสนี้สอบถามแม่สื่อเกี่ยวกับครอบครัวฝ่ายชาย
ขอวันเดือนปีเกิด
หลังจากสู่ขอสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะมอบวันเดือนปีเกิดของลูกสาวให้แก่บ้านฝ่ายชายเพื่อนำไปเสี่ยงทาย
เสี่ยงทาย
หลังจากรับบันทึกวันเดือนปีเกิดของฝ่ายหญิงมาแล้ว พ่อแม่ฝ่ายชายจะนำแผ่นวันเดือนปีเกิดไปวางไว้หน้ารูปปั้นเทพเจ้าหรือบนโต๊ะบูชาบรรพบุรุษ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพบุรุษชี้แนะว่าการแต่งงานครั้งนี้จะนำโชคดีหรือร้ายมาสู่ครอบครัว ว่าที่คู่บ่าวสาวดวงชงกันหรือไม่ หากไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความไม่เป็นมงคลเกิดขึ้น การเตรียมงานแต่งก็เริ่มขึ้น ณ บัดนี้
ฝ่ายชายจะส่งหนังสือหมายหมั้น และหนังสือแสดงสินสอดมายังบ้านฝ่ายหญิง ก่อนถึงวันงาน โดยระยะเวลานั้นอยู่ที่ ขอฤกษ์ครอบครัวฝ่ายชายรับหน้าที่หาฤกษ์งามยามดีเพื่อจัดงาน และจะนำวันที่ได้ไปขอความเห็นจากฝ่ายหญิง
รับเจ้าสาว
ในวันมงคลสมรส เจ้าบ่าวพร้อมด้วยแม่สื่อ ญาติสนิทและมิตรสหาย เดินทางไปรับเจ้าสาวที่บ้าน เมื่อถึงบ้านเจ้าสาวแล้ว เจ้าบ่าวต้องไปเคารพศาลบรรพชนของฝ่ายหญิง หลังจากนั้นก็รับเจ้าสาวมาทำพิธีกราบไหว้ฟ้าดินที่บ้านฝ่ายชาย
วิธีการยกน้ำชาเริ่มจากการจัดที่นั่งให้ผู้ใหญ่โดยให้คุณพ่อเจ้าบ่าวนั่งด้านซ้ายของคุณแม่ จากนั้นบ่าวสาวคลานเข่ายกถาดน้ำชา
ที่มีถ้วยชา 2 ใบรินน้ำชาเตรียมไว้ แล้วยกให้คุณพ่อคุณแม่ ท่าจะหยิบถ้วยน้ำชาขึ้นดื่มกัน โดยจะจิบแค่นิดหน่อย ห้ามจิบหมดถ้วย
เพราะถือว่ามอบน้ำชาทีเหลือเป็นทุนกลับไปให้บ่าวสาว
จากนั้นจึงยกน้ำชาให้ญาติผู้ใหญ่ท่านอื่นตามลำดับอาวุธโส แต่ทุกครั้งที่ยกน้ำชา ต้องรินชาใส่ถ้วย 2 ใบทุกครั้ง
จากนั้นบ่าวสาวรับประทานขนมอี๊ร่วมกันเป็นอันเสร็จพิธี
ลักษณะของกาและถ้วยชาที่เหมาะสมในพิธียกน้ำชา ต้องเป็นถ้วยชาจีน ไม่ควรใช้ถ้วยชาที่มีหู เพราเป็นถ้วยชาแบบฝรั่ง
และควรมีถาดในการยำน้ำชาด้วยทุกครั้ง ส่วนชาที่ใช้ในพิธีจะเป็นชาจีนหรือชาฝรั่งก็ไม่ผิดธรรมเนียมแต่อย่างใด
-
วุ้นเส้น เส้นหมี่ หรือบะหมี่ หมายถึง ให้อายุยืนยาว รักกันนานๆ
-
เห็ดหอม หมายถึง ชีวิตคู่ที่หอมหวาน
-
ผักกุยช่าย หมายถึง ให้รักกันนานๆ หรือร่ำรวย
-
ผักเกาฮะโฉ่ หมายถึง ให้รักใคร่ปรองดองกัน
-
หัวใจหมู หมายถึง ให้รักกันเป็นใจเดียว
-
ไส้หมู-กระเพาะหมู (อย่างใดอย่างหนึ่ง) หมายถึง ให้ปรับตัวเข้าหากัน
-
ตับ หมายถึง ให้มีความรุ่งเรืองและเจริญก้าวหน้า
-
ปลา หมายถึง ให้ร่ำรวยเหลือกินเหลือใช้
-
ปู หมายถึง ทำอะไรคล่องแคล่วว่องไว ขยันทำมาหากิน
-
ไก่ หมายถึง ความสติปัญญา กล้าหาญ และเที่ยงตรง
เมื่อเสร็จพิธีไหว้ฟ้าดินแล้วก็ถือว่าบ่าวสาวทั้งสองเป็นสามีภรรยากันโดยถูกต้อง จากนั้นก็ส่งตัวทั้งคู่เข้าสู่ห้องหอ ซึ่งการแต่งงานแบบจีนเรียกกันติดปากว่า แต่งเข้าบ้าน เนื่องจากฝ่ายหญิงจะไปเริ่มชีวิตครอบครัวที่บ้านของฝ่ายชายเสมอ
-
เชื่อกันว่า ถ้าคู่รักอายุห่างกัน 6 ปี ดวงจะขง ห้ามแต่งงานกัน เพราะถึงแต่งไปก็ไม่ดี
-
เมื่อเจ้าบ่าวยกขันหมากมา พ่อแม่เจ้าสาวต้องหลบไปก่อน ห้ามประจันหน้ากับเจ้าบ่าว และขบวน
ขันหมาก เพราะถือว่าอีกหน่อยจะไม่ลงรอยกัน
-
ตาม ฤกษ์วันแต่ง ซินแสจะกำหนดว่าคนเกิดราศีใดบ้างที่เป็นกาลกิณี คนราศีนั้นต้องหลบหน้า
ไปจาก พิธีรับตัวเจ้าสาว
-
เจ้าสาวต้องซื้อหวี 4 เล่ม เอาเคล็ดคำมงคลว่า " ซี้ซี้อู่หอซิว " แปลว่า จะได้รับทรัพย์ตลอดเวลา
-
แม่สามีสมัยก่อนมักหาจังหวะดี ๆ แอบกดหัวเจ้าสาว เพื่ออีกหน่อยตนจะได้เป็นฝ่ายคุมลูกสะใภ้
-
ก่อนออกจากบ้าน เจ้าสาวต้องถอดตุ้มหูออก เพราะเชื่อว่าตุ้มหูจะถ่วงความเจริญ และรั้งเจ้าสาว
ไว้กับบ้านเก่า เมื่อไปถึงบ้านเจ้าบ่าวจึงจะสามารถใส่ได้
-
เมื่อเจ้าสาวจะเข้าบ้านฝ่ายชาย มีธรรมเนียมจีนโบราณอยู่ว่า ให้เจ้าบ่าวเอามือเท้าประตู แล้วให้
เจ้าสาวมุดเข้าไป เป็นเคล็ดว่าให้ภรรยาอยู่ใต้อำนาจสามี
-
คู่แต่งงานใหม่ให้วางส้มเช้ง 2 ลูก ไว้หัวแตียง เพราะเชื่อว่าจะทำให้ได้ลูกชาย
-
ในงาน ตึ่งฉู่ บางบ้านจะมีธรรมเนียมที่อนุญาตให้ฝ่ายเจ้าสาว เอาสิ่งของ ของฝ่ายชาย เช่น
เอารองเท้าไปซ่อน เพื่อเรียกอั่งเปาเป็นการไถ่คืน
-
คนจีนไม่นิยมแต่งงานช่วงกินเจ เพราะเป็นช่วงที่ทั้งประตูสวรรค์ และประตูนรกเปิด
ทำให้อาจมีสิ่งไม่ดีเข้ามาใน งานมงคล และติดตัวไปตลอด ชีวิตการแต่งงาน .....
ในที่สุด เราก็เรียนรู้พิธีการและความเชื่อของชาวจีนกันเรียบร้อยแล้วนะคะ บ๊องบ๊องไม่รู้ว่า จะมีท่านใดสนใจจัดพิธีแต่งงานแบบจีนกันบ้าง แต่ไม่ว่าจะจัดงานแบบไหน บ๊องบ๊องเชื่อว่าคงจะอบอวลไปด้วยความรักและความสุขสมหวังกันถ้วนหน้าแน่นอนค่ะ เอ้า คำนับหนึ่ง คำนับสอง
หนังสือที่กล่าวถึงนั้น ได้แก่ หนังสือหมั้นหมาย หนังสือแสดงสินสอด และหนังสือรับตัวเจ้าสาว ส่วน 6 พิธีการเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่การหมั้น ไปจนถึงพิธีแต่งงาน ได้แก่(บ๊องบ๊องไม่แน่ใจว่า หากมีสัญญาณไม่ดี ทางฝ่ายชายจะทำอย่างไร)
1 เดือน - 2 สัปดาห์ และทางครอบครัวฝ่ายชายจะเชิญญาติที่เป็นหญิง 2 หรือ 4 คน (เป็นหญิงที่มีความสุขในชีวิตแต่งาน) และทั้งแม่สื่อนำสินสอดทองหมั้นไปให้ฝ่ายหญิง และทางครอบครัวฝ่ายหญิงก็จะมอบของขวัญตอบ(ขณะออกเดินทางครอบครัวฝ่ายหญิงบางครอบครัวจะนำน้ำสะอาดสาดตามหลังเกี้ยว หมายถึง ลูกสาวแต่งงานไปแล้ว ก็ถือว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวฝ่ายชาย เพราะต้องไปใช้ชีวิตที่บ้านทางฝ่ายชาย เหมือนน้ำที่สาดออกไป)
|